Icon Close

กลไกการบริหารจัดการสถานการณ์ Covid ของภาครัฐ ภาคเอกซน ภาคประชาสังคมและภาคประชาชน ในพื้นที่เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร

กลไกการบริหารจัดการสถานการณ์ Covid ของภาครัฐ ภาคเอกซน ภาคประชาสังคมและภาคประชาชน ในพื้นที่เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
No Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
22 มกราคม 2568
ความยาว
20 หน้า
ราคาปก
ฟรี
กลไกการบริหารจัดการสถานการณ์ Covid ของภาครัฐ ภาคเอกซน ภาคประชาสังคมและภาคประชาชน ในพื้นที่เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
การบูรณาการ การเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยบริการสุขภาพ ทั้งรัฐ ท้องถิ่น และเอกชน โรงเรียนแพทย์ เครือข่ายวิชาชีพ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม การก่อตัวของการปฏิบัติการร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน กับหน่วยบริการ สุขภาพทุกระดับในชุมชนเขตเมือง ให้มาทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหา COVID - 19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมุ่งเน้นให้เกิดการจัดการที่ช่วยลดความซ้ำซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาเชิงรุก การส่งต่อเข้ารับการ รักษาตามความรุนแรงของโรค
วังทองหลาง เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ทางโครงการได้พิจารณาคัดเลือกโดยเล็งเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ มีความพร้อมของผู้นำ แกนนำ ในระดับ ต่างๆ ร่วมถึงหน่วยงานในระดับพื้นที่มีวิธีคิดและทัศนคติที่เห็นประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง มีการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ วังทองหลางจึงเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการสร้างกระบวนการ สร้างแผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์ กรอบการปฏิบัติงานที่เกิดจากกลไกบูรณาการการทำงานร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายภาครัฐภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน ให้สามารถทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหา COVID - 19 ในระดับพื้นที่เขตเมืองได้
กลไกการบริหารจัดการสถานการณ์ Covid - 19 ของภาครัฐภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ในพื้นที่เขตวังทองหลางกรุงเทพมหานคร ฉบับนี้ได้จัดทำกรอบแนวคิด (Conceptual Frame-work) ของระบบปฏิบัติการที่เกิดจากบทเรียนการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับแนวทางในการพัฒนากลไก บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีต่างๆ มีการวิเคราะห์ระบบการทำงาน (System Analysis) ของภาคส่วนต่างๆ ในสถานการณ์ COVID-19 ในแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดบทเรียน การเรียนรู้ของภาคีที่เป็นภาคประชาชนกับระบบหลักที่มีอยู่

สรุป
1. มนุษย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์และมีศักยภาพในการเรียนรู้ปรับ ตัวได้เร็ว และไม่อาจเป็นมนุษย์คนใดคนหนึ่ง หากต้อง
2. ทำงานร่วมกันเป็นทีม กลุ่ม ชุมชน องค์กรหน่วยเล็กๆ และ
3. มีเครือข่ายที่หลากหลายและสามารถประสานความร่วมมือกันได้

ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของมนุษย์ ที่ต้องสร้างและบ่มเพาะให้เกิด เป็น soft power ความไว้วางใจ เชื่อใจ เชื่อมั่นในกันและ กัน เคารพ รับฟังฯลฯ ในส่วนของระบบ และโครงสร้าง ก็ต้องมองไปที่ระบบและโครงสร้างที่มีชีวิต ที่จะบ่มเพาะให้เกิดสภาวะดังกล่าวทั้ง 3 ประการ
- ระบบที่จะบ่มเพาะความเป็นมนุษย์ที่มีสำนึกสาธารณะและลุกขึ้นมาจัดการปัญหาด้วยตัวเอง
- ระบบและโครงสร้างที่เปิดโอกาสให้บ่มเพาะความเป็นทีม ชุมชนองค์กร เรียนรู้ร่วมกัน
- ระบบและโครงสร้างที่จะนำพาเครือข่ายต่างๆ ให้มารู้จัก สาน สัมพันธ์กันด้วยความเข้าอกเข้าใจ ไว้เนื้อเชื่อใจอย่างต่อเนื่อง
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
22 มกราคม 2568
ความยาว
20 หน้า
ราคาปก
ฟรี
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็นได้จ้า